พรมมิ เพิ่มความจำ บำรุงสมอง เพิ่มการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญ

คู่มืออาหารเสริมเขียนโดย ดร.เริงฤทธิ์  สัปปพันธ์
ปริญญาเอกทางด้านสารธรรมชาติทางการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หนังสือ คู่มืออาหารเสริมฉบับสมบูรณ์

หมายเหตุ  (ตัวเลข) คือลำดับเอกสารอ้างอิงงานวิจัย 

http://wp.me/p74RkJ-1T

ปัจจุบันมีการวิจัยพบว่า พรมมิช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง เพิ่มการเรียนรู้ เพิ่มความสนใจในการเรียนรู้ ลดความกังวล มีสารบำรุงประสาท ป้องกันสมองไม่ให้ความจำเสื่อม

  • การทดลองให้หนูรับประทานพรมมิ 40 mg  ต่อกิโลกรัม พบว่าเพิ่มการเรียนรู้(7)
  • การทดสอบทางคลินิกในมนุษย์พบว่า พรมมิเพิ่มความจำในเด็กและผู้ใหญ่(8)
  • เด็กนักเรียนรับประทานสารสกัดพรมมิ  350 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน เพิ่มการเรียนรู้(9)
  • การทดสอบทางคลินิกพบว่า รับประทานสารสกัดพรมมิ 300 มิลลิกรัม อาสาสมัครสุขภาพดี 38 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 60 ปี ช่วยเพิ่มความจำ(10)
  • รับประทานพรมมิสกัด 12 กรัม ลดอาการหดหู่และซึมเศร้า(11)

synapseพรมมิมีฤทธิ์ในการรักษาอัลไซเมอร์ได้

ผลงานวิจัยที่ทดสอบในหนู พบว่าป้องกันการสูญเสียความจำ และลดการทำลายสารสื่อประสาทในสมอง(Acetylcholinesterase)

ได้มีการทดลองในผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 55 ปี โดยรับประทานสารสกัดพรมมิ  300-600 มิลลิกรัมต่อวัน ผลพบว่า

  • คุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัว เพิ่มการตื่นตัวต่อสิ่งเร้า มีสมาธิเพิ่มขึ้น(12)
  • เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และจดจำ(4,12)
  • ลดความกังวล(5)

สารสำคัญในพรมมิคือสารในกลุ่มซาโปนิน(Saponins) ไตรเทอร์ปีน (Triterpenes) ดัมมาแรน (Dammaranes) เช่น สารที่มีชื่อว่า บาโคไซด์ เอ, บาโคไซด์ บี, บาโคไซด์ ซี, บาโคซีปโปไนน์ ดี, บาโคซีปโปไนน์ อี, และ บาโคซีปโปไนน์ เอฟ(7)

โดยสารที่ช่วยเพิ่มความจำคือ บาโคไซด์เอและบาโคไซด์บี(2,13) ซึ่งมีฤทธิ์เพิ่มการส่งสารสื่อประสาท และการสร้างสารสื่อประสาท(14) เพิ่มการเรียนรู้อย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก(15)

ต้านการสันดาป ที่เกิดกับเซลล์ประสาท ปกป้องสมองสมองจากอัลไซเมอร์(13)

พรมมิทำงานโดยยับยั้ง อะซิทิลโคลีนเอสเตอเรส ซึ่งเป็นสารที่ทำลายสารสื่อประสาท(16,17)

เมื่อเซลล์ประสาทจะส่งสัญญาณถึงกัน เซลล์ประสาทจะใช้สารเคมีเป็นตัวส่ง หากในร่างกายมี อภิสิทธิ์โคลีนเอสเตอเรสมาก จะทำลายสารเคมีที่สื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถติดต่อกันได้จึงขาดข้อมูล พบว่าผู้ที่หลงลืม ความจำไม่ดี คนชรา ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมีอะซิทิลโคลีนเอสเตอเรสมาก คือมีตัวทำลายสารสื่อประสาทมากนั่นเอง